วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
























สมาชิกในกลุ่มคร๊าบ















บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในสมัยโบราณกาลมนุษย์ยังไม่มีความเจริญและความคิดที่จะสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ทรัพยากรในเวลานั้นมีอยู่อย่างมากมายและไม่มีวันหมด พอมนุษย์มีความคิดและการพัฒนาจึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องอำนวยความสะดวกขึ้น แต่เวลานั้นไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรมากนัก พอมนุษย์ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจึงทำให้เกิดการแก่งแย้งชิงดีชิงเด่นกัน ทำให้เวลานั้นมีการพัฒนามาอย่างรวดเร็วจนมาถึงในปัจจุบัน
สมัยโบราณคนเราได้สร้างสิ่งต่างๆขึ้นหลายอย่างโดยที่มีการพัฒนาต่อๆมาจนถึงปัจจุบันคนในสมัยนี้ก็มีการพัฒนาวัฒนธรรมและสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น จนประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยก่อนจะถูกลบเลือนจากปัจจุบัน โดยมีวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากยุคสมัยและต่างประเทศทำให้คนในสมัยปัจจุบันรู้จักวัฒนธรรมไทยน้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทยบิดเบือนไปจากความจริงมากกลุ่มของข้าพเจ้าอยากที่จะศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น จึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของวัดบึงพลาญชัย
2.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของเจ้าอาวาสวัดบึงพลาญชัย
3.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัดบึงพลาญชัยกับชุมชน


ระยะเวลาที่ดำเดินงาน
23 พฤศจิกายน – 20 มกราคม 2551

สถานที่ดำเนินงาน
- โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด
- วัดบึงพลาญชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

วัดบึงพระลานชัย
ตั้งอยู่เลขที่ 116 ถนนประชาธรรมรักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต มีเนื้อที่ 9 ไร่ 83 9/10 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 1093 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 4 เส้น 5 วา จดที่ดินเอกชน ทิศใต้ประมาณ 3 เส้น 1 วา จดถนนทองทวี ทิศตะวันออกประมาณ 1 เส้น 15 วา จดถนนสุนทรเทพ ทิศตะวันตกประมาณ 1 เส้น 21 วา จดถนนประชาธรรมรักษ์ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 7 แปลง เนื้อที่ 53 ไร่ 8 งาน 287.1 ตารางวา
โฉนดที่ดินเลขที่ 10944 1095 1814 อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 12 เมตร ยาว 32.30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2529 ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อพ.ศ.2527 กุฏิสงฆ์จำนวน 11 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 6 หลัง และตึก 5 หลัง และศาลาเอนกประสงค์กว้าง 9 เมตร ยาว 45 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2516 เป็นอาคารลักษณะทรงไทย
มีเสาหอไตรกลางสระชัยมงคล เป็นปกติของชาวไทยชาวพุทธ เมื่อสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นมาแล้วจะต้องสร้างวัดหรือยกวัด
สร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ฟื้นฟูบูรณะ วัดเก่าแก่โบราณขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเพราะมีคติประจำใจว่า "ชาติเหมือนกาย ศาสนาเหมือนใจหรือ ชาวพุทธต้องมีเรือนกายเรือนใจ"เมื่อ พ.ศ.2430 หลวงสงกรานต์วิศิษฐ์โดย
การสนับสนุนของพระยาขัติยะวงษา (เภา ธนสีลังกูร)ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และผู้ต้องขัง ช่วยกันถางป่า บุกเบิก ฟื้นฟู บูรณะวัดเก่าแก่โบราณรกร้างมานานขึ้นเป็นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่งและให้ชื่อว่า "วัดบึงพระลานชัย" เพราะถือบริเวณนี้ว่า






1.เป็นวัดโบราณถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านชาวเมือง 2. มีสระชัยมงคลซึ่งเป็นสระโบราณคู่บ้านคู่เมืองอันศักดิ์สิทธิ์
3.อยู่ใกล้ชิดติดกับบึงพลาญชัย 4.เป็นเนินสูง เป็นลายสวยงาม 5. เป็นที่ประกอบพิธีกรรมฉลองชัยชนะ จากการยกทัพจับสึก เจ้าบ้านเจ้าเมืองสมัยโบราณ
ต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนอุปถัมภ์จากพระยาขัติยะวงษาเอกาธิสตานันท์
(เหลา ณ ร้อยเอ็ด) และเจ้าเมือง ผู้ว่าราชการเมือง และข้าหลวงบริเวณเมืองมาโดยตลอด
ได้อาราธนาพระครูเอกุตตรสตาธิคุณ จากอำเภอธวัชบุรีมาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.2456 ทางราชการได้จัดตั้ง กรมทหารม้าขึ้นที่มณฑลร้อยเอ็ด ไปอยู่วัดสระทอง มหาเสวกโทพระยารณชัยชาญยุทธ สมุหเทศาภิบาล








ผู้ว่าการมณฑลร้อยเอ็ด มหาอำมาตย์ตรีพระยาสุรเดชฤทธิ์ทศวิชัย และมหาอำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้อาราธนา พระครูสารพินิจ (ลี อสสซิ) พร้อมกับอนุจรคือ พระพรหมา สุปญโญสามเณรทองดี รัตโนและดช.บุญเรือง พรหมชัยนันท์ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) มาเป็นเจ้าอาวาสและดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงด้วย ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ดช.บุญเรือง พรหมชัยนันท์ ต่อมาก็ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ได้บำเพ็ญประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้กับ ชาติบ้านเมือง มีชื่อเสียงโด่งดังด้วยเกียรติคุณ เกียรติยศปรากฏชื่อในพระราชทินทาม พระราชสิทธาจารย์หรือที่ชาวเมืองรู้จักกันดีก็คือ "หลวงพ่อเมืองเสลฯ"







ประวัติพระธรรมฐิติญาณ
ชาติภูมิเจ้าคุณวัดบึงฯ
พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต) อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๙ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ค.บ., ศน.ด. (กิตติมศักดิ์) วัดบึงพระลานชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ชื่อและสกุลเดิม คือ ศรีจันทร์ ลาวะลี เกิดปีฉลู วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๘๐ บิดาชื่อ สุวรรณ มารดาชื่อ ไกร ณ บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ ๕ (ปัจจุบันหมู่ ๙) บ้านหนองหน่อง ต.อีง่อง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด
บรรพชา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๙๕ ณ วัดสว่างอารมณ์ ต.อีง่อง โดยมีเจ้าอธิการอำ (พระครูจันทรังษีสุกิจ) วัดสระทอง เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ณ วัดบึงพระลานชัย พระครูคุณสารพินิจ (แก้ว อุปติสฺโส ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศีลคุณวิสุทธิ์) วัดบึงพระลานชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดผาด อุตฺตโม (พระครูวิจิตรคุณาธาร) วัดบึงพระลานชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาชารี อาภารโณ วัดบึงพระลานชัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์


การศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๙ สอบไล่ได้ น.ธ.เอก และ ว.ก. สำนักเรียนวัดบึงพระลานชัย พ.ศ.๒๔๙๙ สำเร็จวุฒิบัตรภาษาอังกฤษ โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๕๐๐ สำเร็จวุฒิบัตรวาทศิลป์ โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๕๐๑ สำเร็จ วุฒิบัตรสารบรรณ โรงเรียนอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด พ.ศ.๒๕๐๓ สำเร็จวิชา ครู
พ.ศ.๒๕๐๕ สำเร็จวุฒิบัตร โรงเรียนพระสังฆาธิการคณะธรรมยุตชั้นเจ้าคณะอำเภอ
พ.ศ.๒๕๐๙ สำเร็จครูพิเศษ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย กทม.
การศึกษาพิเศษ
ภาษาต่างประเทศ หลักการบริหาร วาทศิลป์ และมนุษยสัมพันธ์
ความชำนาญการ
ชำนาญด้านการปกครอง การศึกษา การเผยแพร่ การสาธารณูปการ, ธรรมกถึก, การก่อสร้าง และ มนุษยสัมพันธ์
สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งพระครูฐานานุกรมของพระศีลวิสุทธาจารย์ (จั่น เขโม) วัดเหนือ ที่ พระวินัยธร ศรีจันทร์ ปุญญรโต
พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนาม พระครูสิริธรรมโสภิต
พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร จอ.ชท. ในราชทินนามเดิม
พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร จจ.ชพ. ในราชทินนามเดิม
พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนาม ที่ พระศีลวิสุทธาจารย์
พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนาม ที่ พระราชสารสุธี
พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนาม ที่ พระเทพบัณฑิต
พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนาม ที่ พระธรรมฐิติญาณ
ตำแหน่งหน้าที่การงาน ๑.เจ้าคณะภาค ๑๐ (ธรรมยุต)๒.เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง ๓.เจ้าสำนักเรียนธรรม - บาลี ตัวอย่างกรมการศาสนา ๔.เจ้าสำนักเรียนธรรม - บาลี ดีเด่นกรมการศาสนา ๕.เจ้าสำนักเรียนธรรม - บาลี ระดับ จ.ร้อยเอ็ด ๖.ประธานกรรมการบริหารศูนย์ฝึกอบรมพระธรรมกถึก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศ.ธ.ภ.) ๗.กรรมการคณะธรรมยุตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๘.กรรมการเถรสมาคมธรรมยุต ๙.ผู้อำนวยการศูนย์อบรมจังหวัดร้อยเอ็ด ๑๐.วิทยาการประจำเขตการศึกษา ๑๐ ๑๑.ผู้จัดการโรงเรียนเทพบัณฑิตวิทยาลัย (พระปริยัติธรรม แผนกสามัญฯ) ๑๒.ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบึงพระลานชัย ๑๓.อาจารย์พิเศษประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ๑๔.อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกียรติประวัติที่ได้รับการยกย่อง
พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับเกียรติบัตรจากนายกยุวพุทธิกสมาคมร้อยเอ็ด ในด้านเผยแผ่ธรรมดีเด่น จ.ร้อยเอ็ด
พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับพัดพัฒนาจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ในด้านการพัฒนาวัด
พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเสมาทองคำจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การเผยแผ่ธรรมะในประเทศ ได้รับประทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในด้าน การส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ในด้าน การเผยแผ่ธรรมดีมาก
พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตในด้าน การสาธารณูปการดีมาก
พ.ศ.๒๕๓๖ -ได้รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ในด้าน การศึกษาดีมาก -ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ในด้าน ช่วยเหลือการศึกษา-ได้รับคัดเลือกประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือการศึกษาดีเด่นจังหวัดร้อยเอ็ด จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด -จัดการศึกษาแผนกบาลี ผลการสอบ ได้อันดับที่ ๑ ของ จ.ร้อยเอ็ด (ธรรมยุต-มหานิกาย) -จัดการศึกษาแผนกบาลี ผลการสอบ ได้อันดับที่ ๑ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เฉพาะธรรมยุต) และ อันดับที่ ๓ ของประเทศ
พ.ศ.๒๕๓๗ คุรุสภาจังหวัดมหาสารคาม ถวายประกาศเกียรติคุณบัตรเชิดชูเกียรติคุณ "ครูดีของสังคม"
พ.ศ.๒๕๓๘ -ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการศึกษา จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต -ได้รับ ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมการบริหารการศึกษาจากสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก ในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมาก ในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการศึกษา จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับเกียรติบัตร ปฏิบัติศาสนกิจดีมากในด้านการเผยแผ่ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พ.ศ.๒๕๔๔ ได้รับเกียรติบัตริ ปฏิบัติศาสนกิจดีเด่นในด้านการบริหารการคณะสงฆ์ จากสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต -ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากศูนย์เนติไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) ผู้สนับสนุนโครงการเฉลิมพระเกียรติ ญสส.๘๘
พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตร สนับสนุนส่งเสริมวัฒนธรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย จากจังหวัดร้อยเอ็ด
พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับ ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กทม.
"อยู่อย่างมีปัญญา ยอมอย่างมีเหตุผล อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ใหญ่อย่างมีประโยชน์ อย่าหยิ่ง ยิ้มแย้ม เยือกเย็น ยืดหยุ่น เยี่ยมเยียน หยิบยื่น ยกย่อง ใครทำได้ย่อม ยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่"
ประวัติเมืองร้อยเอ็ด เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 ปีเศษ พระมหากัสสปะพุทธสาวกได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ(พระธาตุพนม)จากเมืองกุสินารา มาประดิษฐาน ณ ดอยกัปปนคีรี หรือปณคีรี (ภูกำพร้า) ขณะนั้นมีมหานครอยู่ 4 นคร คือเมืองหนองหานหลวง (จ.สกลนคร) เมืองสาเกตนคร (จ.ร้อยเอ็ด) เมืองมรุกนคร (จ.นครพนม) และเมืองอินทรปัฏฐนคร(กรุงพนมเปญ) นครทั้ง 4 ได้จัดเวรผลัดเปลี่ยนดูแลทำนุบำรุงพระอุรังคธาตุคราวละ 3 ปี
สาเกตนครมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสมัยพญาสุริยวงศา มีเมืองขึ้น 11 เมือง ได้แก่ เมืองฟ้าแดด (อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์) เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อ.เมืองร้อยเอ็ด) เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อ.เมืองร้อยเอ็ด) เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อ.จตุรพักตรพิมาน) เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย) เมืองคอง (บริเวณบ้านเมืองสรวง อ.เมืองสรวง) เมืองเชียงขวง (บริเวณป่าขัวหลวง บ้านจาน อ.ธวัชบุรี) เมืองเชียงดี (บ้านหัวโนน อ.ธวชับุรี) และเมืองไพ (บ้านเมืองไพร อ.เสลภูมิ) ซึ่งสมัยนั้นคงจะเรียกว่า สาเกตนคร เมืองสิบเอ็ดผักตู สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่คั่นได ตามลักษณะที่มีเมืองขึ้นที่มีเส้นทางติดต่อเข้าออก 11 เมือง หรือ 11 ประตู หรืออีกในความเชื่อหนึ่งก็เห็นว่าคงจะมีวิหารกลางเมืองเป็นวิหารไม้ 3 ชั้น ที่มี 11 ประตู 18 หน้าต่าง 29 ขั้นบันได เป็นวิหารหลวงขนาดใหญ่ (สร้างด้วยไม้) และพังทลายไปตามกาลเวลา จึงหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ สาเกตนครเจริญรุ่งเรืองสืบมาจนถึงสมัยผาแดง พระยาขอมธรรมิกราช ผู้ครองนครหนองหานหลวงก็ทำลายสาเกตนครได้สำเร็จ เพราะผู้ครองนครสาเกตไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม สาเกตนครเมืองสิบเอ็ดผักตู ก็กลางเป็นเมืองร้างจนมีต้นกุ่ม (ผักกุ่ม) ขึ้นรอบเมืองจึงเรียกว่า บ้านกุ่มฮ้าง (ร้าง) ต่อมาสมัยอาณาจักรขอม ได้เสื่อมอำนาจลงในบริเวณนี้ อาณาจักรล้านช้าง (เมืองหลวงพระบาง) ได้มีอำนาจเข้ามาแทนที่จนกระทั้งใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2256 (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร กษัตริย์นครจำปาศักดิ์ ทราบว่า ร้อยเอ็ดเป็นเมืองร้าง จึงให้ท้าวแก้วมงคลหรือจารย์แก้ว โอรสเจ้าศรีวิไชย ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าองค์ศรีวรมงคลและเจ้าองค์ศรีวรมงคลเป็นโอรสของพระเจ้าศรีสัตนาคนหตุ (เมืองเวียงจันทร์) จารย์แก้วคุมครัวประมาณ 3,000 คน มาตั้งบ้านท่ง ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นเมืองท่งหรือ เมืองทุ่ง (อ.สุวรรณภูมิ) พ.ศ.2268 จารย์แก้วถึงแก่กรรม อายุได้ 84 ปี มีบุตรชาย 2 คน คือท้าวมืดซ่ง ตลอดเมื่อวันเกิดสุริยุปราคา และ ท้าวทน (หรือทนต์) บางฉบับว่ามี 3 คน คือ ท้าวองค์หล่อหน่อคำ (หรือท้าวเพ) พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงตั้งท้าวมืดเป็นเจ้าเมือง ให้ท้าวทนเป็นอุปราช พ.ศ.2306 ท้าวมืดถึงแก่กรรม กรมการเมืองมีใบบอกไปยังนครจำปาศักดิ์ จึงตั้งท้าวทนครองเมืองอยู่มาได้ประมาณ 4 ปี ท้าวเชียงกับท้าวสูน (บุตรท้าวมืด) บาดหมางกับท้าวทน ซึ่งเป็นอา จึงรวมกับกรมการเมืองไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3(พระที่นั่งสุริยาอมรินทร์) กรุงศรีอยุธยา จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยากรมท่าและพระยาพรม นำกำลังมาพร้อมกับท้าวเชียงและท้าวสูน ท้าวทนได้ข่าวก็อพยพไพร่พลไปอยู่บ้านกุด จอก (บ้านดงเมืองจอก อ.อาจสามารถ) ท้าวเชียงจึงได้เป็นเจ้าเมือง ท้าวสูนเป็นอุปราชเมืองทุ่งก็ขาดจากการปกครองของจำปาศักดิ์ เข้าอยู่ในอำนาจกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่นั้นมา ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหม พระยากรมท่ายกทัพมาเพื่อว่ากล่าวให้ท้านทนกับท้าวเชียงและท้าวสูนให้ประนีประนอมกัน
พ.ศ. 2315 พระยาพรหม พระยากรมท่า ปรึกษากับท้าวเชียงกับท้าวสูน แล้วเห็นว่าที่ตั้งเมืองเป็นเนินสูงอยู่ใกล้ลำน้ำเซ (ปัจจุบันคือลำน้ำเสียว) น้ำไหลแรงเซาะตลิ่งชัยภูมิไม่เหมาะสม จึงมีใบบอกไปยังพระเจ้ากรุงธนบุรีขอย้ายเมืองไปตั้งตำบลดงเท้าสาร ห่างจากเดิม 100 เส้น ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเก่าชัยภูมิดี ตั้งชื่อว่าเมืองสุวรรณภูมิ ตั้งท้าวโอ๊ะบุตรท้าวเชียงเป็นพระยารัตนวงศาเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (หรือศรีภูมิ) สร้างหลักเมืองและวัดพร้อมกัน 2 วัด คือ วันกลางและวัดใต้
พ.ศ. 2318 ท้าวทนซึ่งไปอยู่ดงเมืองจอกได้เข้าหาพระยาพรหม พระยากรมท่า ซึ่งเห็นว่าท้าวทนมีบ่าวไพร่มากประมาณ 6,000 คน จึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งท้าวทนเป็นเจ้าเมือง โดยยกบ้านกุ่มฮ้าง ซึ่งเป็นเมืองร้อยเอ็ดเก่า ยกขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ดตามเดิม ตั้งท้าวทนเป็นพระขัติยะวงษา (ท้าวทนคือต้นตระกูล ธนสีลังกูรปัจจุบัน)
พ.ศ.2326 พระขัติยะวงษา (ท้าวทน) ถึงแก่กรรม มีบุตร 3 คน คือ ท้างสีลัง ท้าวภู ท้าวอ่อน โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวสีลังเป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองให้ท้าวภูเป็นอุปราชเมือง
พ.ศ.2330 ท้าวสูนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิถูกทิดโคตรฟันถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวอ่อนเป็นบุตร พระขัติยะวงษา (ท้าวทน) ซึ่งถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่กรุงเทพฯ ให้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ
พ.ศ.2433 มีการจัดการปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกเป็น 4 บริเวณ ร้อยเอ็ดเป็นบริเวณหนึ่งขึ้นต่อเมืองอุบลและนครจำปาศักดิ์
พ.ศ. 2434 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งเป็น 2 มณฑล ร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑล “ลาวกาว” ซึ่งต่อมาเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลอีสานตามลำดับ
พ.ศ.2451 ได้เปลี่ยนชื่อ “บริเวณร้อยเอ็ด” เป็นจังหวัดร้อยเอ็ด
พ.ศ.2455 มณฑลอีสาน แยกเป็น 2 มณฑล ได้แก่ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด
พ.ศ.2495 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ยุบมณฑลต่าง ๆ มณฑลร้อยเอ็ดจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน
















บทที่ 3
การดำเนินงาน

วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษ 3. คอมพิวเตอร์ 5. กล้องถ่ายรูป
2. ปากกา 4. อินเทอร์เน็ต 6. แบบสอบถาม

วิธีดำเนินงาน
1. วางแผนในการศึกษา สถานที่ทางภูมิศาสตร์
2. ปรึกษาหารือกันในกลุ่ม
3. แบ่งหน้าที่ภายในกลุ่มในการศึกษาสภาพทางภูมิ และประวัติของวัดบึงพลาญชัย
4. นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมที่จะศึกษา
5. ส่งเค้าโครงงาน, บทที่ 1, 2
6. ออกสำรวจพื้นที่
6.1 เริ่มจากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด
6.2 วัดบึงพลาญชัย
6.3 บึงพลาญชัย
7. นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์
8. ส่งบทที่ 3, 4, 5 บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ
9. รวบรวมเป็นรูปเล่ม
10. นำเสนอข้อมูล









ตารางการปฏิบัติงาน

วัน เดือน ปี
การปฏิบัติงาน
สถานที่
23 พฤศจิกายน 2550
คิดหัวข้อเรื่อง
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
26 พฤศจิกายน 2550
ตั้งสมมติฐานและวัตถุประสงค์
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
27-28 พฤศจิกายน 2550
คิดแบบโครงงานและร่างแบบโครงงาน
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
29-30 พฤศจิกายน 2550
ศึกษาเรื่องวัดบึงพลาญชัย
ร้านคอมพิวเตอร์
8 ธันวาคม 2550
ออกศึกษา
วัดบึงพลาญชัย
9 ธันวาคม 2550
สรุปผลเกี่ยวกับการออกศึกษาที่วัดบึงพลาญชัย
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
9 ธันวาคม 2550
รวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมด
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
10 ธันวาคม 2550
จัดเรียงข้อมูลและเขียนแบบแผนของตัวโครงงาน
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
15-24 ธันวาคม 2550
จัดพิมพ์เนื้อหาที่ได้ร่างเอาไว้
ร้านคอมพิวเตอร์
25 ธันวาคม 2550
จัดทำเป็นรูปเล่ม
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
15 มกราคม 2550
จัดทำแผงโครงงานและตรวจความเรียบร้อยของงาน
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด
20 มกราคม 2550
นำงานออกนำเสนอ
ร.ร.เฉลิมพระเกียรติฯร้อยเอ็ด












บทที่ 4
ผลการสำรวจ

สรุปผลการสำรวจ
แบบสอบถาม
สัมภาษณ์ พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต)
ผู้สัมภาษณ์ นางสาวปิยะพร ทบศรี

ถาม ความเป็นมาของวัดบึงพลาญชัยและจัดตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
ตอบ เมื่อ พ.ศ.2430 หลวงสงกรานต์วิศิษฐ์โดยการสนับสนุนของพระยาขัติยะวงษา
(เภา ธนสีลังกูร)ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และผู้ต้องขัง ช่วยกันถางป่า บุกเบิก ฟื้นฟู บูรณะวัดเก่าแก่โบราณรกร้างมานานขึ้นเป็นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่งและให้ชื่อว่า
"วัดบึงพระลานชัย"

ถาม มีเนื้อที่ทั้งหมดเท่าไหร่?
ตอบ 53 ไร่ 8 งาน 287.1 ตารางวา

ถาม อะไรที่เป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของวัด?
ตอบ - เป็นวัดโบราณถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านชาวเมือง
- มีสระชัยมงคลซึ่งเป็นสระโบราณคู่บ้านคู่เมืองอันศักดิ์สิทธิ์
ถาม ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุนบูรณะวัดเป็นคนแรก
ตอบ ผู้ว่าการมณฑลร้อยเอ็ด มหาอำมาตย์ตรีพระยาสุรเดชฤทธิ์ทศวิชัย และมหาอำมาตย์เอก
พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้อาราธนา พระครูสารพินิจ (ลี อสสซิ) พร้อมกับอนุจรคือ พระพรหมา สุปญโญสามเณรทองดี รัตโนและดช.บุญเรือง พรหมชัยนันท์ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี
(ในสมัยนั้น) มาเป็นเจ้าอาวาสและดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงด้วย




รูปภาพศึกษาดูงาน “วัดบึงพลาญชัย”

Pro ject earth เองแหละ

นี่ก็อุโบสถของวัด






ทางเข้าวัด
ที่ตีกลองเพล

หัดทำบุญกับเขาซะบ้าง







พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2548 สร้างด้วย หอพระไตรมิ่งเมือง เป็นสมบัติบ้านคู่เมือง เป็นศูนย์คอนกรีตเสริมเหล็ก สิ้นราคาค่าก่อสร้าง รวมของสรรพสิ่งมิ่งมงคล เป็นอาคาร รวมเป็นเงิน 25 ล้านบาท 4ชั้นทรงไทย



สระชัยมงคล
สระชัยมงคลเป็นสระน้ำโบราณศักดิ์สิทธิ์ เคยนำน้ำจากสระชัยมงคลไปร่วมงานพระราชพิธีเป็นประจำครั้งหลังสุดงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระภูมิพลมหาราช
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
โรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นอาคาร2ชั้น ทรงไทยตรีมุข กว้าง 9 เมตร ยาว 45
กุฏิสงฆ์กุฏิสงฆ์ จำนวน 15 หลัง สร้างด้วย ซุ้มประตู ซุ้มประตู สร้างด้วยคอนกรีตคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ เสริมเหล็ก ยาว 7 เมตร สูง 15 เมตร 10 หลัง และกุฏิเจ้าอาวาสหนึ่งหลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531









หอระฆังหอระฆัง พระเจ้าบรมเธอพระองค์เจ้ากัญจนากร ทรงสร้างถวาย เมื่อ พ.ศ. 2467
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล

อภิปรายผล
วัดบึงพลาญชัย สร้างเมื่อ พ.ศ.2529 เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่โบราณ รกร้างว่างเปล่ามาหลายร้อยปี มีสิ่งก่อสร้างปรักหักพัง มีศิลาแลง มีใบเสมา มีสระชัยมงคลเป็นสระน้ำเก่าแก่ที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวร้อยเอ็ดมีเสาหอไตรกลางสระชัยมงคล เป็นปกติของชาวไทยชาวพุทธ เมื่อสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้นมาแล้วจะต้องสร้างวัดหรือยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ฟื้นฟูบูรณะ วัดเก่าแก่โบราณขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยมีพระธรรมฐิติญาณ
(ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต) อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๙ เป็นเจ้าอาวาสของวัด

สรุปผล
1.วัดบึงพลาญชัย สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตเป็นวัดเก่าแก่โบราณ รกร้างว่างเปล่ามาหลายร้อยปี เมื่อ พ.ศ.2430 หลวงสงกรานต์วิศิษฐ์โดยการสนับสนุนของพระยาขัติยะวงษา (เภา ธนสีลังกูร)ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และผู้ต้องขัง ช่วยกันถางป่า บุกเบิก ฟื้นฟู บูรณะขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่งและให้ชื่อว่า "วัดบึงพระลานชัย" 2.พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต)เจ้าอาวาส อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๙ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ค.บ., ศน.ด. (กิตติมศักดิ์) ชื่อและสกุลเดิม คือ ศรีจันทร์ ลาวะลี เกิดปีฉลู วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๘๐ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ณ วัดบึงพระลานชัย
3.วัดบึงพลาญชัยมีความสำคัญกับชุมชนมากเนื่องจากใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและที่ประกอบพิธีเนื่องในวันสำคัญต่างๆของคนในชุมชน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน
1.ทำให้รู้จักรการทำงานเป็นกลุ่ม
2.ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติของวัดบึงพลาญชัย
3.ช่วยฝึกในการสืบค้นข้อมูลให้มีความชำนาญมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ
เนื้อหาในโครงงานเล่มนี้อาจมีเนื้อหาไม่ครบถ้วน ผู้ที่ศึกษาสามารถศึกษาได้ทาง 1.อินเทอร์เน็ต
2.ตามหนังสือทั่วไปได้
บรรณานุกรม

วัดบึงพลาญชัย . พระวิทยา วรปัญโญ . “วัดบึงพลาญชัย” , 7 มกราคม 2547.
http://www.watbueng101.org/wb/index.htm . 27 ธันวาคม 2550.





















สารบัญ

เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค

บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
- วัตถุประสงค์
- ระยะเวลาการดำเนินงาน
- สถานที่จัดทำ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2
- ประวัติวัดบึงพลาญชัย
- ประวัติเจ้าอาวาสวัดบึงพลาญชัย
- ประวัติเมืองร้อยเอ็ด
บทที่ 3 การดำเนินงาน 11
- การดำเนินงาน
- ตารางการปฏิบัติงาน
บทที่ 4 ผลการสำรวจ 13
- สรุปผลการสำรวจ
- ภาพการศึกษาวัดบึงพลาญชัย
บทที่ 5 สรุปผลดำเนินงาน 17
- อภิปรายผล
- สรุปผล
- ประโยชน์ที่ได้รับ
- ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม 18




บทคัดย่อ

ชื่อโครงงานวัฒนธรรมอีสาน เรื่องวัดบึงพลาญชัย ผู้จัดทำโครงงาน นางสาวนันทพร
อ่วมทอน นางสาวปิยะพร ทบศรี นางสาวสุกานดา มาสวนจิก นางสาวอุมาพร นันทรัตน์
นางสาววายูน พิมพ์ดี ชื่อคุณครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี
ระยะเวลาในการดำเนินงาน 23 พฤศจิกายน – 20 มกราคม2551 วัตถุประสงค์1.เพื่อต้องการที่จะศึกษาวิธีการสู่ขวัญของคนสมัยโบราณ 2.ต้องการที่จะสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณีให้คงอยู่ตลอดไป 3.เพื่อให้เกิดการหวงแหนในมรดกของท้องถิ่น วิธีในการดำเนินงาน1.ปรึกษากับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะศึกษา2.ร่วมกันสืบค้นข้อมูลต่างๆ3.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และพิจารณาข้อมูลที่ได้4.ตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อมูล5.เรียบเรียงข้อมูล
ขอบเขตการศึกษา- โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด วัดบึงพลาญชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ผลที่ได้รับจากการศึกษา
1.วัดบึงพลาญชัย สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตเป็นวัดเก่าแก่โบราณ รกร้างว่างเปล่ามาหลายร้อยปี เมื่อ พ.ศ.2430 หลวงสงกรานต์วิศิษฐ์โดยการสนับสนุนของพระยาขัติยะวงษา (เภา ธนสีลังกูร)ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และผู้ต้องขัง ช่วยกันถางป่า บุกเบิก ฟื้นฟู บูรณะขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่งและให้ชื่อว่า "วัดบึงพระลานชัย" 2.พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต)เจ้าอาวาส อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๙ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ค.บ., ศน.ด. (กิตติมศักดิ์) ชื่อและสกุลเดิม คือ ศรีจันทร์ ลาวะลี เกิดปีฉลู วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๘๐ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๐ ณ วัดบึงพระลานชัย
3.วัดบึงพลาญชัยมีความสำคัญกับชุมชนมากเนื่องจากใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและที่ประกอบพิธีเนื่องในวันสำคัญต่างๆของคนในชุมชน









กิตติกรรมประกาศ

โครงงานวัฒนธรรมอีสาน เรื่องวัดบึงพลาญชัย เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการศึกษา ค้นคว้า
โครงงานนี้จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม และก็ขอขอบพระคุณคุณครู สฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี ที่ให้ขอเสนอแนะและคำปรึกษา จนโครงงานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หากมีข้อบกพร้องประการใดก็ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
























โครงงาน
สำรวจสถานที่สำคัญ
เรื่อง วัดบึงพลาญชัย


จัดทำโดย

1. นางสาวนันทพร อ่วมทอน ชั้นม.5/3 เลขที่ 25
2. นางสาวปิยะพร ทบศรี ชั้นม.5/3 เลขที่ 29
3. นางสาวสุกานดา มาสวนจิก ชั้นม.5/3 เลขที่ 35
4. นางสาวอุมาพร นันทรัตน์ ชั้นม.5/3 เลขที่ 36 5. นางสาววายูน พิมพ์ดี ชั้นม.5/3 เลขที่ 43


เสนอ
คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ
จังหวัดร้อยเอ็ด
1.ชื่อโครงงานวัฒนธรรมอีสาน เรื่องวัดบึงพลาญชัย
2.ชื่อผู้จัดทำโครงงาน นางสาวนันทพร อ่วมทอน
นางสาวปิยะพร ทบศรี
นางสาวสุกานดา มาสวนจิก
นางสาวอุมาพร นันทรัตน์
นางสาววายูน พิมพ์ดี
3.ชื่อคุณครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี
4.ระยะเวลาในการดำเนินงาน 23 พฤศจิกายน – 20 มกราคม2551
5.ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
สมัยโบราณคนเราได้สร้างสิ่งต่างๆขึ้นหลายอย่างโดยที่มีการพัฒนาต่อๆมาจนถึงปัจจุบันคนในสมัยนี้ก็มีการพัฒนาวัฒนธรรมและสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น จนประเพณีและวัฒนธรรมในสมัยก่อนจะถูกลบเลือนจากปัจจุบัน โดยมีวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากยุคสมัยและต่างประเทศทำให้คนในสมัยปัจจุบันรู้จักวัฒนธรรมไทยน้อยลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของไทยบิดเบือนไปจากความจริงมากกลุ่มของข้าพเจ้าอยากที่จะศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น จึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้น
6.วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของวัดบึงพลาญชัย
2.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของเจ้าอาวาสวัดบึงพลาญชัย
3.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัดบึงพลาญชัยกับชุมชน
7. วิธีในการดำเนินงาน
1.ปรึกษากับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะศึกษา
2.ร่วมกันสืบค้นข้อมูลต่างๆ
3.รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และพิจารณาข้อมูลที่ได้
4.ตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อมูล
5.เรียบเรียงข้อมูล
5.สรุปผลการดำเนินงาน
6.รายงานผลการดำเนินงาน

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ได้ทราบถึงประวัติของวัดบึงพลาญชัย
2.ได้ความรู้ประวัติของเจ้าอาวาสวัดบึงพลาญชัย
3.ได้รู้ว่าวัดบึงพลาญชัยมีความสำคัญกับชุมชนมากเนื่องจากใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและที่ประกอบพิธีเนื่องในวันสำคัญต่างๆของคนในชุมชน

9. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม /แหล่งที่ศึกษาค้นคว้า

วัดบึงพลาญชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาววายูน พิมพ์ดี (หัวหน้ากลุ่ม)
2.นางสาวอุมาพร นันทรัตน์
3.นางสาวสุกานดา มาสวนจิก
4.นางสาวนันทพร อ่วมทอน
5.นางสาวปิยะพร ทบศรี